หลักสูตร RoHS 2.1 , ELV , WEEE And REACH การควบคุมสารต้องห้าม

บทนำ

   RoHS เป็นระเบียบการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป เพื่อต้องการให้สินค้าปราศจากสารอันตราย อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับประเทศผู้ใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ตะกั่ว, ปรอท, โครเมียม+6, โพลิโบรมิเนทไบฟินิล (PBB), โพลิโบรมิเนทไดฟินิลอีเทอร์(PBDE) และ แคดเมียม และเมื่อปลาย 2558 ได้เพิ่มสารต้องห้ามอีก 4 ชนิดคือ กลุ่มPhthalates ได้แก่ DEHP, BBP, DBP และ DIBP

ปัจจุบัน RoHS v2 เริ่มบังคับใช้ 3/1/13 คุมตั้งแต่นำเข้าตลาด นำเข้าชิ้นส่วนเพื่อนำไปผลิตต่อเพื่อการส่งออก (ไม่วางตลาด) จะถูกควบคุมด้วย และมีการปรับสารต้องห้ามเพิ่มอีก 4 สารซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2019 เป็น RoHS v2.1

ข้อกำหนดของ RoHS ในวัสดุเนื้อเดียวกันที่ใช้ในการผลิตสินค้าต้องควบคุมการใช้สารอันตรายให้มีปริมาณไม่เกินค่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้

End-of-Life Vehicles เป็นระเบียบของสหภาพยุโรป (Directive 2000/53/EC) ที่ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2543 และมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ระเบียบนี้วางมาตรการเพื่อลดของเสียจากยานยนต์ โดยบังคับให้มีการบำบัดซากยานยนต์อย่างถูกวิธีและให้นำชิ้นส่วน/วัสดุกลับมา ใช้ประโยชน์ให้ได้ตามสัดส่วนที่กำหนด และเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางสิ่งแวดล้อมในทุกธุรกิจในวัฏจักรชีวิตของยานยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บำบัดซากยานยนต์

วัตถุประสงค์และสาระสำคัญของ ELV เพื่อให้ผู้ผลิตรับผิดชอบต่อชิ้นส่วน / อะไหล่ ยานยนต์ที่หมดอายุการใช้งานได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมได้แก่
ค่าใช้จ่ายในการจัดการซาก: ผู้ผลิตต้องรับ ภาระค่าใช้จ่าย “ส่วนใหญ่” ในการเก็บคืนซากยานยนต์ที่นำเข้าตลาดก่อน กรกฎาคม 2545 และภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับซากยานยนต์ที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2550 ไม่ว่ายานยนต์จะผ่านการบริการ/การซ่อมแซม การตกแต่งเพิ่มเติม หรือมีการเปลี่ยนชิ้นส่วน/อะไหล่ในระหว่างการใช้งาน มาอย่างไรก็ตาม
เป้าหมายการรีไซเคิล:สัดส่วนการใช้ซ้ำ/การดึงทรัพยากรคืนไม่ต่ำกว่า 85% โดยน้ำหนักและการใช้ซ้ำ/การรีไซเคิลไม่ต่ำกว่า 80% โดยน้ำหนัก ภายในปี 2548
สัดส่วนการใช้ซ้ำ/การดึงทรัพยากรคืนไม่ต่ำกว่า 95% โดยน้ำหนักและการใช้ซ้ำ/การรีไซเคิลไม่ต่ำกว่า 85% โดยน้ำหนัก ภายในปี 2557

การห้ามใช้โลหะหนัก 4 ชนิด: ยาน ยนต์และอะไหล่สำหรับยานยนต์ที่นำเข้าตลาดหลัง 1 กรกฎาคม 2546 ต้องปราศจาก ตะกั่ว (Pb) ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) และ โครเมียมเฮกซะวาเลนซ์ (Cr-VI) ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด ยกเว้นการใช้งานเฉพาะบางอย่างที่ระบุให้เป็นข้อยกเว้น
ระเบียบสหภาพยุโรป ELV (End of life Vehicles) ได้กำหนดสาระสำคัญดังนี้
1.การป้องกันการก่อของเสีย
2.การเก็บคืนซากยานยนต์
3.การบำบัดซากยานยนต์
4.การใช้ซ้ำ และการดึงทรัพยากรกลับ
5.การทำเครื่องหมายบนชิ้นส่วน
6.การให้ข้อมูล และการรายงาน
WEEE หรือ ระเบียบการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผลิตและส่งไปจำหน่ายยังกลุ่มประเทศยุโรป เพื่อกำหนดให้ผู้ผลิต หรือ ผู้เข้า หรือ ตัวแทนจำหน่าย ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกำจัดกรณีสินค้าดังกล่าวหมดสภาพการใช้ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 13 สิงหาคม 2548 ซึ่งมีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในข่ายดังนี้

แนวทางการดำเนินงานตาม WEEE
REACH หรือกฎระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2007 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียน การประเมิน การอนุญาต และการห้ามหรือจำกัดการผลิตหรือการใช้สารเคมี

R: Registration การจดทะเบียน
E: Evaluation การประเมินความเสี่ยง
A: Authorization การขออนุญาตใช้สารบางชนิด / ห้ามใช้สารบางชนิด
CH: Chemical สารเคมี
เนื้อความในกฎหมายแบ่งเป็น 15 บรรพ (Title) 141 มาตรา (Article) 17 ภาค (Annex) เพื่อใช้เป็นมาตรการในการควบคุมเคมีภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายในสหภาพยุโรป โดยมีแนวคิดหลักคือ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมและขึ้นทะเบียนสารเคมีตามระเบียบการของ RoHS v.2.1 , ELV WEEE And REACH
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าวอย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น

หัวข้อฝึกอบรม
หลักการและเหตุผล
– ระเบียบปฏิบัติ EuP (Energy using Product)
– เหตุผลของที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม EU
Restriction of Hazardous Substances
– ระเบียบ RoHS คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
– RoHS v2.1 เพิ่มสารต้องห้ามอะไร และบังคับใช้เมื่อไร
– คุณสมบัติของสารต้องห้าม 10 ชนิด และอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
– การจัดทำเอกสาร Technical ตามระบบ RoHS
– ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สารทดแทน
– การตรวจสอบปริมาณสารต้องห้าม
– ห้องปฎิบัติการทดสอบ
– วิธีการอ่านค่าผลการตรวจสอบ Test REPORT
– Workshop การอ่านผล “Test Report”
– แนวทางการควบคุมสารต้องห้ามในองค์กร
End of life Vehicles
– ที่มาของ ELV
– หลักการที่ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบ
– ELV Time Line
– ยานยนต์ที่เข้าตามระเบียบ ELV
– มาตรการป้องกันการเกิดของเสีย
– กลไกการเก็บคืนซากรถยนต์
– การบำบัดซาก
– เป้าหมายการใช้ซ้ำและการนำทรัพยากรกลับคืน
– การใช้รหัสมาตรฐานและข้อมูลการถอดชิ้นส่วน
– การรายงานและการให้ข้อมูล
– การคำนวณสัดส่วนการ Reuse/Recycle, Reuse/Recover
– การพิจารณาการปราศจากสารต้องห้าม
– รายการวัสดุและชิ้นส่วนยกเว้น
WEEE
– WEEE คืออะไร
– วัตถุประสงค์ WEEE
– สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ในข่าย?
– แนวทางการดำเนินงานตาม WEEE
– ผู้ต้องดำเนินการตามระเบียบ WEEE
– เป้าหมาย 3R ในสินค้า?
Registration Evaluation and Authorization of Chemicals
– REACH คืออะไร?
– วัตถุประสงค์ของ REACHและสาระสำคัญของ REACH
– สารเคมีที่ได้รับการยกเว้นตามกฏระเบียบ REACH
– ระยะเวลาการจดทะเบียน REACH
– Evaluation, Authorization, Restriction
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 80% Workshop 20%

Total Page Visits: 950 - Today Page Visits: 1