หลักสูตร การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ขององค์กร Carbon Footprint for Organization: CFO

หลักสูตร การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ อบรม Carbon Footprint การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร Carbon Footprint for. Organization

บทนำ หลักสูตร การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่องทั้งการใช้พลังงาน การเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน และนับวันปัญหาดังกล่าวก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ทำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกตื่นตัวในการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร เช่น จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก แบ่งเป็น ดังนี้
1: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการ
บำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น
2: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ เป็นต้น
3: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น


ถ้าสามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กร สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญและหาแนวทาง จัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับโรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และระดับประเทศ

วัตถุประสงค์
• เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและวิธีการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์สากล
• เพื่อให้สามารถคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรได้
• เพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการวิเคราะห์หาแหล่งปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (Hot Spot) และหาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกขององค์กรได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
• เพื่อขยายผลการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กรของประเทศไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรในระดับผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ ในหน่วยธุรกิจ หน่วยการผลิต หรือหน่วยกิจกรรม ของบริษัท ที่ต้องการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร และนำผลการประเมินไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจหรือกำหนดมาตรการลดแก๊สเรือนกระจก
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม
บทนำ
• ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพรินต์
• หลักการการแสดงผลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
• ชนิดและหน่วยการแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจก
การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์
• การพัฒนาและออกแบบบัญชีรายการปริมาณก๊าซเรือนกระจก
• แนวทางการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมขององค์กร
• องค์ประกอบของบัญชีรายการปริมาณก๊าซเรือนกระจก
• การจัดการคุณภาพของบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก
• กรณีศึกษาการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ (Case Study)
• การทวนสอบผลการคำนวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
• Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย workshop แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

Total Page Visits: 120780 - Today Page Visits: 13