หลักสูตร TWI : Training Within Industry for supervisors พัฒนาทักษะหัวหน้างาน

บทนำ
Training Within Industry for Supervisor เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนภาคการผลิตในอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อราว ค.ศ. 1940 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะหัวหน้างาน ( Skill Supervisor) เป็นหลัก TWI ได้ถูกนำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ
ซึ่งก็สามารถประสบความสำเร็จอย่างสูงและเป็นหลักสูตรภาคบังคับสำหรับหัวหน้างานทุกระดับ ปัจจุบันToyota ได้นำหลักสูตรนี้เข้ามาพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเช่นกันหลักสูตรนี้ประกอบด้วย 3 J ดังนี้
ในสถานที่ทำงานของแต่ละองค์กรหรือกระบวนการ อาจมีปัญหาที่หน้างานแต่ต่างกับการประยุกต์ใช้ หลักการ 3J อาจมาความแตกต่างกัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้หัวหน้างานทุกระดับเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองและมีความรู้ด้านคุณสมบัติที่เป็นองค์ประกอบของการเป็นหัวหน้างานที่ดี
2. เพื่อพัฒนาให้เกิดทักษะทักษะการสอนงาน การปรับปรุง และการสร้างสัมพันธ์ภาพในงาน ทำให้สามารถควบคุมและบริหารงานภายใต้การบังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม 1 วัน 09.00 -16.30

หัวข้อสัมมนา
– ดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
– ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
– หน้าที่ของหัวหน้างานในแต่ละระดับกับการบริหารงาน
– 3J ทักษะพื้นฐานของหัวหน้างานพึงมี
ทักษะการสอนงาน Job Instruction
– การประเมินความจำเป็นในการอบรมและการวางแผนอบรมโดย skill map
– การจัดทำสื่อการสอนโดยวิธี job breakdown
– วิธีการสอนงาน 4 ขั้นตอน
– ขั้นตอนที่ 1 เตรียมตัวเรียน
– ขั้นตอนที่ 2 การถ่ายทอดงาน
– ขั้นตอนที่ 3 ลองทำ
– ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบประสิทธิผล
– Workshop การสอนงาน
ทักษะการปรับปรุงงาน Job Methods
– ขั้นตอนการปรับปรุงการทำงาน
– 1.การแยะรายละเอียดงานเพื่อระบุปัญหาโดย job breakdown
– 2.การตั้งคำถาม 5 W1H เพื่อการปรับปรุง
– 3.การปรับปรุงโดย ใช้หลักการ ECRS
– 4. การนำเสนอแนวคิดการปรับปรุง
ทักษะการสร้างสัมพันธ์ภาพ Job Relations
– ความสัมพันธ์ของผู้บังคับบัญชากับบุคคลอื่นๆในองค์กร
– หลักสำคัญพื้นฐานในการปรับปรุงสัมพันธ์ภาพ
– วิธีการจัดการกับปัญหาในงาน
– ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมข้อเท็จจริง
– ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ
– ขั้นตอนที่ 3 จัดการกับปัญหา
– ขั้นตอนที่ 4 ติดตามผล

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 70% Workshop 30%
– การดำเนินกิจกรรมจะเป็นในรูปแบบกิจกรรมกลุ่มอาจแตกต่างจากในมาตรฐาน TWI เนื่องจากเวลาและจำนวนคนจึงไม่สามารถใช้รู้แบบปกติได้

Total Page Visits: 1767 - Today Page Visits: 1