หลักสูตร Project Planning วางแผนโครงการ ด้วยเทคนิค PERT-CPM 2 วัน เน้น Workshop

บทนำ
ในปัจจุบันทุกองค์กรจะมีการดำเนินกิจกรรมแบ่งแยกเป็น 2 ส่วนคืองานที่ต้องทำเป็นประจำ กับงานที่ทำขึ้นมาเฉพาะ ซึ่งมีกำหนดเวลาแล้วเสร็จ มีต้นทุน และคุณภาพ ที่ต้องการเฉพาะเจาะจง ซึ่งงานที่กล่าวมานั้นบางองค์กรก็เป็นผู้ดำเนินการเอง บางองค์กรก็ให้ผู้รับจ้างช่วงเป็นผู้ดำเนินการให้ เช่น งานซ่อม สร้าง ต่างๆ ซึ่งผู้ดำเนินการส่วนใหญ่ไม่ได้มีการบริหารงานที่มีลักษณะเฉพาะนี้ มักอาศัยประสบการณ์ การทดลองทำ ตามความคืบหน้า และสภาพปัญหาที่เจอในแต่ละช่วงทำให้เกิดปัญหาที่ตามมา เช่น การส่งมอบไม่ทันตามกำหนด คุณภาพไม่สอดคล้องกับที่ต้องการ และต้นทุนการดำเนินงานที่บานปลาย ทำให้เกิดผลกระทบทั้งต่อผู้ที่เป็นเจ้าของโครงการ และผู้ดำเนินการในโครงการนั้นๆ


การบริหารโครงการ (Project Management) หมายถึง กระบวนการในการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่มีลักษณะที่มีความพิเศษและไม่ซ้ำซ้อนกับการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยกลยุทธ์หรือแนวทางที่มีความแตกต่างออกไปจากการบริหารงานประจำหรือการบริหารทั่วไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ภายใต้กรอบด้าน “งบประมาณ เวลา และคุณภาพ” ที่กำหนด เป็นต้น
ลักษณะโดยทั่วไปของโครงการ
• มีลักษณะเป็นหนึ่งเดียว (Unique) ประกอบด้วยกระบวนการ และกิจกรรมที่ไม่สามารถทำซ้ำได้
• มีระดับของความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในการดำเนินงานอยู่จำนวนหนึ่ง
• สามารถคาดหมายผลลัพธ์ที่จะส่งมอบได้ในเบื้องต้น
• มีการกำหนดเวลาเริ่มต้นโครงการและสิ้นสุดไว้อย่างชัดเจน
• บุคลากรอาจได้รับการมอบหมายเป็นการชั่วคราว
• อาจจะใช้เวลาในการดำเนินการที่นาน
วงจรการพัฒนาโครงการ
ในการบริหารโครงการส่วนที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือเรื่องของ การวางแผนโครงการ project planning ซึ่งเป็นการศึกษารายละเอียดของงาน การจัดทำแผนหลักและแผนย่อยในแต่ละส่วนงานเพื่อเป็นตัวกำหนดทำให้เกิดความชัดเจนเรื่องของงาน กำหนดระยะเวลาและวิธีการ ต่างๆซึ่งในการดำเนินงานจะประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
เครื่องมือที่ใช้ใน การวางแผนโครงการ project planning มีมากมายหนึ่งในเครื่องมือนั้นคือ PERT-CPM และผังลูกศรเพื่อใช้ในการแสดงความสัมพันธ์และหาค่าเวลาต่างๆเพื่อใช้ในการวางแผนโครงการ project planning
แล้วนำผลที่ได้มาจัดทำแผนการดำเนินงาน
ในบางกรณีเมื่อวางแผนเสร็จสิ้นอาจพบว่าระยะเวลาที่ใช้อาจเกินกำหนดที่ต้องการดังนั้นผู้วางแผนต้องมีความเข้าใจกับหลักการเร่งรัดโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนแผนใหม่
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจในหลักการของการวางแผนและมีทักษะการประยุกต์ใช้เทคนิค PERT / CPM ในการวางแผนโครงการ project planning
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถทบทวนและปรับเปลี่ยนเร่งรัดแผนให้สอดคล้องกับความต้องการ

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม 2 วัน 09.00-16.30

 แนวคิดและหลักการ
– ความหมายและลักษณะของโครงการ
– ผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
– ความแตกต่างระหว่างการบริหารโครงการและบริหารงานปกติ
– วงจรการพัฒนาโครงการ
การวางแผนบริหารโครงการ project planning
– 6 ขั้นตอนการวางแผนโครงการ
– กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
– ระยะเวลาโครงการ และรายการควบคุมด้านคุณภาพและงบประมาณ
– ผังโครงสร้างรายการหมวดงาน หรือ (WBS)
– จัดองค์กรและและทีมงานทั้งหมดในการทำงาน
– Workshop 1
– กำหนดระบบการบริหารงานพื้นฐาน
– จัดทำแผนงานสำหรับโครงการ
– 6 ขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการใช้ PERT / CPM ในการวางแผนโครงการ
1. กำหนด Work Breakdown Structure และ Project Organization
2. ศึกษาความสัมพันธ์ของงานย่อยต่าง ๆ ว่างานใดต้องทำเสร็จก่อนแล้วจึงเริ่มต้นทำงานอื่นได้ของ WBS ที่กำหนดมา
3. เขียนข่ายงาน (Network) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของงานย่อยต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการโดย แผนผังลูกศร (Arrow Diagram)
– Workshop 2 , 3
4. ศึกษาเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม
5. คำนวณ ES, EF, LS, LF, Critical Path, Slack Time และ 𝜎
– Workshop 4 6. ใช้ข่ายงานที่เขียนมาเพื่อช่วยในการวางแผน จัดตารางการทำงาน ตรวจสอบและควบคุมโครงการ
– Workshop 5 การจัดทำแผนโครงการ
การทบทวนเร่งรัดแผนโครงการ
– กำหนดระยะเวลาที่ต้องการเสร็จ และ หาสายงานวิกฤต
– กำหนดต้นทุนของการเร่งโครงการ
– เลือกกิจกรรมสำหรับเร่งรัดโรงการ
– คำนวณ ES, EF, LS, LF, Critical Path, Slack Time และ 𝜎
– ปรับปรุงแผนโครงการใหม่
– Workshop 6
– การวางแผนความต้องการทรัพยากรและวัตถุดิบ
– Workshop 7
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 40% Workshop 60%
– ดำเนินกิจกรรมกลุ่มโดยหลักการระดมสมองและร่วมการดำเนินกิจกรรมในการบริหารโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร
– จำนวน 4-6 กลุ่ม ไม่จำกัดคนในแต่ละกลุ่มแต่ต้องมีความรู้ในโครงการนั้นๆ

Total Page Visits: 1920 - Today Page Visits: 5