หลักสูตร Poka Yoke Error Proofing ระบบป้องกันความผิดพลาด

บทนำ
ในกระบวนการผลิตประกอบด้วยปัจจัยการผลิตหลายประการ เช่น คน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมักเกิดข้อบกพร่องหรือความผิดพลาด
ตัวอย่างเช่น จากการประกอบไม่ดี การติดตั้งไม่ดี การวางตำแหน่งไม่ดี การหยิบผิดพลาด การลืมถอด การปนเปื้อนสิ่งสกปรก หรือการตรวจวัดไม่ดี เป็นต้นได้ทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นในการทำงานดังตัวอย่าง
แนวคิดพื้นฐานของ Poka yoke ถูกนำเสนอและนำมาใช้ในระบบการผลิตแบบโตโยต้าโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นชื่อ Shigeo Shingo (ค.ศ.1909-1990)
แต่เดิมแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า Baka yoke ซึ่งแปลตรงตัวว่า หลีกเลี่ยงความโง่เขลา อาจทำให้พนักงานไม่เห็นด้วยหรือต่อต้านต่อมาจึงมีการเปลี่ยนเป็น Poka yoke เพื่อให้ความหมายดูเหมาะสมขึ้น เหตุการณ์ทำสำคัญคือที่ Arakawa Auto body 1993
เริ่มมีการใช้ Baka yoke ทำให้พนักงานหญิงคนหนึ่งไม่มาทำงานเมื่อผู้จัดการไปเยี่ยมบ้าน เธออธิบายว่า “เธอไม่ได้โง่ เพียงแต่ทุกคนสามารถผิดพลาดกันได้ทั้งนั้น”
คำแปล
“Poka” การพลาดโดยไม่ตั้งใจ การพลั้งเผลอของมนุษย์
“Yoke” มาจากคำว่า Yokeru แปลว่า การป้องกัน การหลีกเลี่ยง
ในซีกโลกตะวันตกมักจะเรียกรวม ๆ POKA YOKE ว่า “Fool Proof”, “Fail Safe” หรือ “Mistake Proofing” หมายถึง วิธีการป้องกันความผิดพลาดพลั้งเผลออันเกิดจากพนักงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบแนวคิดและหลักการของการป้องกันความผิดพลาด
2. เพื่อทำให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบวิธีการประยุกต์ใช้ POKA YOKE ในการป้องกันความผิดพลาดในการทำงาน

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม
บทนำ

– คำนิยามของ ความผิดพลาด (Error) และข้อบกพร่อง (Defect)
– ข้อจำกัดของมนุษย์ และความน่าเชื่อถือในตัวมนุษย์ 5 ระดับ
– ผลกระทบของข้อบกพร่องที่มีต่อกระบวนการและผลิตภัณฑN
– หลักการและแนวคิดของ Poka Yoke เพื่อการผลิตของเสียเป็นศูนย์
3 แนวทางการตรวจสอบผลิตภัณฑ์
– การตรวจสอบแบบตัดสินใจ Judgment inspection
– การตรวจสอบโดยอาศัยข้อมูล Informative Inspection
– การตรวจสอบ ณ แหล่งกำเนิด Source Inspection
3 รูปแบบวิธีการติดตั้ง Poka Yoke
1. วิธีการสัมผัส Contact Methods
2. วิธีเทียบค่าที่กำหนด Fixed Value Methods
3. วิธีตรวจสอบที่การเคลื่อนไหว Motion Step Methods
อุปกรณ์ดักจับ 3 ประเภทของ Poka Yoke
1. ดักจับจากการสัมผัสทางกายภาพ Physical Contact Sensing Devices
2. ดักจับที่ใช้พลังงาน Energy Sensing Devices
3. ดักจับความเปลี่ยนแปลงสภาวะทางกายภาพ Sensors that detect changes in physical conditions
แนวทางในการใช้ Poka Yoke ในการควบคุมกระบวนการ
1. ระบบควบคุม / Control System
1.1หยุดการทำงานทันที (Shut down)
1.2 การควบคุมหรือบังคับ (Control)
2.การแจ้งเตือน / Warning System
7 ขั้นตอนการนำ Poka Yoke ไปประยุกต์ใช้
1. การระบุปัญหาข้อบกพร่อง
2. การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของข้อบกพร่อง
3. การพิจารณาเลือกใช้วิธีการติดตั้ง , อุปกรณ์ , และวิธีควบคุม
4.การวางแผนการดำเนินงาน
5. การดำเนินงาน
6. การตรวจสอบผลใช้งาน
7. การจัดทำมาตรฐาน/อบรม/สื่อสาร
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 60% Workshop 40%
– ดำเนินกิจกรรมกลุ่ม โดยให้สำรวจปัญหาที่พบ และดำเนินการวิเคราะห์สาเหตุของข้อบกพร่องและ ออกแบบ Poka Yoke พร้อมนำเสนอแนวคิด

Total Page Visits: 1357 - Today Page Visits: 1