หลักสูตร Cross Functional Management : CFM การบริหารข้ามสายงาน 2วัน

บทนำ
ในสภาวะการปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆจึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มที่จะใช้แนวคิดการจัดการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบริหารและการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น แนวคิดการบริหารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน คือ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management TQM  (JUSE , คณะกรรมการ Deming Prize) ได้ให้ความหมายว่า “กิจกรรมที่เป็นระบบ ( Systematic Activities ) ที่บริษัทดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าผ่านสินค้าและบริการด้วยราคาและเวลาส่งมอบที่เหมาะสม”

การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management : TQM มาจากคำว่า TQC (Total Quality Control) ของญี่ปุ่น หรือบางทีญี่ปุ่นก็เรียกว่า “CWQC” (Company-Wide Quality Control) ในญี่ปุ่นสับสนกับ คำว่า QC ควบคุมคุณภาพ เมื่อใช้เป็นภาษาญี่ปุ่นกลับแปลว่า ‘ฮินชิทสุ คันริ’ ซึ่งหมายถึง QM บริหารคุณภาพ ทำให้ทุกวันนี้ทั่วโลกรู้จักหลักการบริหารชนิดนี้ในนาม การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management TQM


การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร Total Quality Management TQM มีแนวทางการเริ่มหลายแบบขึ้นอยู่กับปัญหาที่พบ ณ ช่วงนั่นๆที่เริ่มว่ามีปัญหาใดสำคัญ สำหรับองค์กรที่ยังไม่มีระบบอะไรเลยอาจยากที่จะนำ TQM เข้ามาบูรณการได้จึงมักแนะนำให้เริ่มจาก Bottom up Activities และให้การศึกษาควบคู่กันไป แต่ในกรณีที่องค์กรมีความพร้อมแล้ว อาจเริ่มจาก Cross Functional Management เพื่อสถาปนากระบวนการทางธุรกิจในภาพรวมรวมก่อน และค่อยกระจายหน้าที่งานไปในแต่ละฝ่ายโดยทำ Daily Management หลักจากนั้นควรมีการทบทวนเป้าหมายการบริหารองค์กรอย่างต่อเนื่องและนำไปสู่การปฏิบัติโดย Policy Management

หนึ่งในยานพาหนะ คือ การบริหารข้ามสายงาน Cross Functional Management หมายถึง “กิจกรรมที่ต้องมีการทำร่วมกันข้ามฝ่ายงานเพื่อให้บรรลุผลจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้ร่วมกัน ที่มุ่งเป้าหมายที่เจาะจงไปที่ “ดัชนีชี้วัดหลักของธุรกิจ (Management Elements) Elements)” เช่น Quality, Cost, Delivery, New Products Development.
ซึ่งในองค์กรจะมี 3 ช่วงที่ต้องใช้การบริหารงานแบบ CFM
1. พัฒนาระบบบริหารงานคุณภาพ พื้นฐานขององค์กร
2. เมื่อมีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาต้องมีการร่วมกันเตรียมความพร้อม ซึ่งในระบบอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ทำให้เห็นถึงการต้องทำงานร่วมกันใน “APQP”
3. เมื่อมีปัญหาหรือต้องการปรับปรุง การประกันคุณภาพ , บริหารต้นทุน , ควบคุมการส่งมอบ
( ขั้นตอนการดำเนินงานในแต่ละเรื่องมีความแตกต่างให้ดูคู่มือ Kurogane Kenji, “Cross-Functional Management : Principles and Practical Applications”, Asian Productivity Organization, Tokyo, 1993 เป็นแนวทาง)

ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารงานคุณภาพ
เมื่อมีการออกแบบระบบการทำงานเรียบร้อยแล้วแต่ละสายงานต้องเริ่มบริหารงานในฝ่ายที่ตนเองรับผิดชอบหรือ เรียกว่าการบริหารงานประจำวัน ตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งอาจเกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงแก้ไขขั้นตอนการทำงานทำให้การทำงานเกิดความไม่สอดคล้องกัน หรือประเด็นด้านกลยุทธ์มีการเปลี่ยนแปลงทำให้ต้องปรับกระบวนการทำงานจึงทำให้ต้องมีการก่อตั้ง Cross Functional Team เพื่อจัดการประเด็นที่สนใจให้ลุล่วง
ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาโดย Cross Functional Team :CFT

วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้พนักงานในทุกระดับที่ต้องมีการทำงานร่วมกันเข้าใจหลัก การบริหารข้ามสายงาน Cross Functional Management : CFM และขั้นตอนการดำเนินงานตามแนวทาง CFM

กลุ่มเป้าหมาย : ประธานกรรมการ ผู้จัดการ สำหรับการพัฒนากระบวนการด้านธุรกิจ ผู้จัดการ หัวหน้างาน สำหรับการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม 2 วัน  09.00-16.30

หัวข้อสัมมนา
บทนำ
– วิวัฒนาการของ TQM , TQM คืออะไร
– รูปแบบแนวคิด TQM : The Juse’s TQM Model , Japanese Standard Association , TVM Model Dr.Veerapot Lueprasitsakul , Thailand Quality Award , Kano’s House
Cross Functional Management
– Cross Functional Management คืออะไร
– รูปแบบทีมบริหารข้ามสายงาน(Cross Functional Team)
การพัฒนาระบบบริหารงานคุณภาพ
– หน้าที่ในการพัฒนาระบบการบริหารงานคุณภาพ
– ขั้นตอนการพัฒนาระบบการบริหารงานคุณภาพ
– กำหนดวัตถุประสงค์ของธุรกิจ
– วินิจฉัยองค์กรและพยากรณ์สมมุติฐานในอนาคต
– องค์กรและบริบทขององค์กร SWOT
– ศึกษาข้อกำหนดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
– การกำหนดกลยุทธ์
– การกำหนดแนวทางธุรกิจและขอบเขตธุรกิจ
– การกำหนดกระบวนการ โครงสร้างองค์กร และผังกระบวนการทางธุรกิจ
การบริหารเชิงกระบวนการ (Process Approach)
– กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน
– กำหนดขอบเขตของงาน
– สรุปปัยจัยป้อนเข้าและป้อนออกกระบวนการ ( SIPOC )
– กำหนด KPI ที่ใช้ประเมินผลกระบวนการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และขอบเขต
– เขียนขั้นตอนการทำงานในปัจจุบัน
– เมินปัญหาในอดีตที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของงาน และ ประเมินปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิดปัญหา และ ประชุมกำหนดแนวทางป้องกัน
– ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานโดยนำเอามาตรการป้องกันเข้าไปประยุกต์ใช้
– เอกสารสนับสนุนขั้นตอนการปฏิบัติงาน
– การสรุปหน้าที่งานแต่ละตำแหน่ง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่
– การตั้งทีมงานสำหรับ New Model
– ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการใหม่ ( APQP )
– เฟส 1 การวางแผนและการกำหนด
– เฟส 2 การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
– เฟส 3 การออกแบบและการพัฒนาการบวนการ
– เฟส 4 การรับรองผลิตภัณฑ์และกระบวนการ
– เฟส 5 ข้อมูลย้อนกลับ / การประเมินและการแก้ไข
– แผนการศึกษาและเตรียมความพร้อมของการผลิต APQP PLAN
การแก้ไข/ปรับปรุงปัญหาที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย
– แนวคิดการดำเนินกิจกรรมปรับปรุงข้ามสายงาน
– ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาโดย Cross Functional Team :CFT
– STEP0. แต่งตั้งกลุ่ม CFT
– STEP 1. คัดเลือกหัวข้อของปัญหา
– STEP 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย
– STEP 3 จัดทำแผนการดำเนินการแก้ไข
– STEP 4 การวิเคราะห์สาเหตุ
– STEP5 กำหนดมาตรการแก้ไขและแผนการดำเนินงานและนำมาตรการตอบโต้ปัญหาไปปฏิบัติ
– STEP 6 ตรวจสอบผลลัพธ์
– STEP 7 จัดทำเป็นมาตรฐานปฏิบัติและจัดตั้งการควบคุม
– Q&A

รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 30% Workshop 70%
– ทำกิจกรรมผ่านชุด WORKSHOP ที่สถาบันจัดเตรียมให้

Total Page Visits: 1253 - Today Page Visits: 1