บทนำ
การเกิดขึ้นของ 5 ส. ในญี่ปุ่นไม่ได้เกิดเป็น 5 ส. ในรูปแบบที่ชัดเจน แต่พัฒนามาจากแนวคิดในเรื่องการควบคุมคุณภาพ (Quality Control : QC) กล่าวคือญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังฝ่ายสัมพันธ์มิตร โดยการนำของสหรัฐอเมริกาที่เข้ายึดครองญี่ปุ่น ได้เรียกร้องให้มีการักษาคุณภาพของชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น เพราะขณะนั้นสินค้าของญี่ปุ่นด้อยคุณภาพมาก จะนำมาประกอบใช้กับอะไรก็มักใช้ไม่ค่อยได้
จากปัญหาดังกล่าวนี่เอง ทางอเมริกาจึงส่งผู้เชี่ยวชาญมาดูแลและให้ความรู้ในเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้าหรือคิวซี ซึ่งต่อมาหลักการที่ทางอเมริกานำมาเผยแพร่นี้เอง ที่กลายมาเป็นพื้นฐานที่ส่งให้ญี่ปุ่นกลับมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของตัวเองทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านบุคคลากรในที่สุด
การทำ 5 ส. ปรากฏให้เห็นในช่วงที่ QC มีการพัฒนารูปแบบ กล่าวคือ ในช่วงแรกได้เน้นการทำ 3 ส กับหน่วยงานต่างๆ ต้องการแนวทางพื้นฐานที่เป็นเหมือนแรงผลักให้ผู้ปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตมากที่สุด โดย QC เป็นหลักการที่มุ่งควบคุมที่ตัววัตถุมากกว่า ดังนั้นจึงมีผู้คิดค้นหลักการง่ายๆ ที่จะสนับสนุนกิจกรรม “รากฐาน” ที่มุ่งไปที่ตัวคนและสภาพแวดล้อม ซึ่งหลักการนั้นก็คือหลัก 5 ส. ที่ทางญี่ปุ่นเรียกว่า 5S นั่นเอง.
5ส คือเครื่องมือสำหรับ “ บริหารจัดการพื้นที่หน้างานให้เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรมสำหรับการเพิ่มผลผลิต โดย การกระทำ 5 สิ่ง คือสะสาง สะดวก สะอาด สร้างนิสัย และสุขลักษณะ ”
ผลลัพธ์ที่ได้จากทำกิจกรรมปรับปรุงพื้นที่การทำงานด้วยหลักการ 5ส
นามธรรม : ปรับปรุงความมีระเบียบวินัยของบุคลากรให้สูงขึ้น
รูปธรรม : ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน, เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน คุณภาพ การส่งมอบสินค้าทันเวลา ลดการเกิดอุบัติเหตุ และในที่สุดก็จะเกิดความพึงพอใจของลูกค้า และทุกๆ คนในองค์กร
การปรับปรุงพื้นที่การทำงานโดย หลักการ CAPD
ในการดำเนินกิจกรรมยังมีเครื่องมือมากมายที่เป็นองค์กรกอบในการบ่งชี้จุดที่ต้องปรับปรุง การบ่งชี้เพื่อควบคุม และการตรวจสอบเช่น
มาตรฐาน 3S ในรูปแบบ Standard Picture
Visual Control ควบคุมโดยการมองเห็น
วัตถุประสงค์
– เพื่อให้เข้าใจหลักการและแนวคิดการดำเนินกิจกรรม 5 ส
– เพื่อทำให้ทราบขั้นตอนและแผนงานในการ “การบูรณการ” 5ส ในองค์กรจนทำให้เกิดพื้นที่การทำงานที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มผลผลิต
– เพื่อทำให้ทราบรายละเอียดการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร/พื้นที่ที่ตนเองรับผิดชอบ
กลุ่มเป้าหมาย : สำหรับผู้บริหาร ทีมงานส่งเสริม/ตรวจประเมิน และคณะดำเนินกิจกรรม 5ส
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
ระยะเวลาอบรม 1 วัน 09.00-16.30 น
หัวข้อฝึกอบรม
กำหนดการอบรม
หลักการและแนวคิดพื้นฐาน
– องค์ประกอบในหน้างานสำหรับเพิ่มผลผลิต
– แนวคิดของ 5S Model Concept และแนวคิดการทำ ส แต่ละตัว
การเตรียมการก่อนการเริ่มกิจกรรม
– การกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์การดำเนินการ
– การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของกิจกรรม 5ส
– ใครคือผู้เกี่ยวข้องในการทำ 5 ส ในองค์กร
– การบริหารกิจกรรมและแผนการส่งเสริมกิจกรรม 5ส
– ผู้บริหารสูงสุดประกาศเจตนารมณ์การใช้ 5สในสถานประกอบการ
– อบรมให้ความรู้คณะกรรมการดำเนินกิจกรรม
– ขั้นตอนการกำหนด Layout บริษัท
สะสาง
– 5 ขั้นตอนสู่การ “สะสาง”
– ยุทธ์การป้ายแดง เพื่อการ “สะสาง” SEIRI
สะดวก
– ทำไมต้อง “สะดวก”
– 5 ขั้นตอนสู่ “สะดวก”
– ขั้นตอนการกำหนด Layout ย่อย
– เทคนิคการประเมินต้นทุนการเคลื่อนที่
– Workshop
– ขั้นตอนการจัดทำมาตรฐาน 3ส
– Visual Control ควบคุมโดยการมองเห็น
สะอาด
– ทำไมต้อง “สะอาด”
– 3 ขั้นตอนสู่ “สะอาด”
– ดำเนินการทำ Big Cleaning Day
– กำหนดมาตรฐาน/วิธีการ การดูและพื้นที่ประจำวัน/สัปดาห์
– การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ (Cleanliness Inspection)
สุขลักษณะ
– ทำไมต้องมี “สุขลักษณะ”
– 6 ขั้นตอนสู่ “สุขลักษณะ”
– ตัวอย่างการกำหนดมาตรฐานสุขลักษณะ
สร้างนิสัย
– ทำไมต้อง “สร้างนิสัย”
– 3 ขั้นตอนสู่“สร้างนิสัย”
– การสร้างการรับรู้
Workshop
– ลงพื้นที่ในแต่ละโซนเพื่อประเมินสภาพนำมาจัดทำแผนการดำเนินงานแต่ละโซน
– นำเสนอแผนงาน
รูปแบบการอบรม
– บรรยาย 40 % และ Workshop 60 %
– เข้าสำรวจพื้นที่ทำงานและระบุจุดปรับปรุงและทำแผนปรับปรุงประจำเดือน