หลักสูตร Visual Management การจัดการด้วยการมองเห็น ( Visual Control , Visual Display )

หลักสูตร Visual Control , Visual Display  , หลักสูตร การควบคุมด้วยการมองเห็น , อบรม การจัดการด้วยการมองเห็น , หลักสูตร Visual Management

บทนำ หลักสูตร Visual Control
กิจกรรมประจำวันของทุกกระบวนการ / พื้นที่การทำงาน ต้องอาศัยปัจจัยพื้นฐานคือ 4M1E ( Man Machine Material Method Environment ) ในกระบวนการทำงาน ซึ่งผู้ปฏิบัติงาน ต้องบริหารจัดการปัจจัยเหล่านั้นให้สร้างผลลัพธ์ออกมาเช่น ผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ

“จะเป็นอย่างไร” ถ้าการทำงานผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับรู้สารสนเทศเทศที่จำเป็น เช่น งานที่ต้องทำ วิธีการทำงานที่ถูกต้อง สถานะผลการทำงาน ฯลฯ ที่จำเป็นต้องรู้ คำตอบ ก็เป็นที่รับทราบกัน คือ ปัญหา นั่นเอง
การจัดการการมองเห็น Visual Management เป็นวิธีการใช้สารสนเทศที่ตาสามารถมองเห็นได้ในสถานที่ทำงานเช่น

เพื่อทำให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถรับรู้ข้อมูล เข้าใจสภาพที่เกิดขึ้น รวมถึงใช้สำหรับการตัดสินใจอย่างถูกต้อง Visual Management มีหลักการแสดงผล 2 แบบคือ Visual Displays และ Visual Control

Visual Display เป็นการแสดงสารสนเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบ เช่น ข้อมูลข่าวสาร มาตรฐานกฎระเบียบต่างๆ สถานะของผลการทำงานต่างๆ การประยุกต์ใช้ มักใช้กับงานทั่วไป
Visual Control เป็นการแสดงสารสนเทศโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบและจำแนกแยกแยะสถานะ ว่าเป็นไปตามเกณฑ์การยอมรับหรือมาตรฐานหรือไม่ เช่น สถานการณ์ทำงานของเครื่องจักร Spec ของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น การประยุกต์ใช้กับ งานที่ต้องมีการตัดสินใจ , งานที่มีอันตราย ,ตำแหน่งของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ , งานที่ต้องควบคุม เป็นต้น

การแสดงสารสนเทศนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานตามวงจร PDCA หมายถึง สามารถนำไปใช้ในการแสดง แผนงาน มาตรฐาน , ผลการดำเนินงาน , สถานะผลการตรวจสอบ หรือทำให้สามารถตรวจสอบได้ , ผลการแก้ไขจัดการ

สนเทศเทศ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
สี เช่น สีเสื้อกีฬาสี สีประจำโรงเรียน สีธนบัตรหรือเหรียญ ซึ่งสีบางสีมักถูกใช้ในการสื่อความหมายที่ค่อนข้างยอมรับเป็นสากล จึงต้องควรศึกษาและระมัดระวังในการเลือกใช้เช่น สีเขียว สื่อความหมายถึง ความปลอดภัย หรือความเป็นธรรมชาติ ไม่เป็นพิษหรือไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สีเหลือง สื่อความหมายถึง ให้ระวังเพราะอาจเกิดความผิดพลาดหรืออันตรายได้
ป้ายไฟ เช่น สัญญาณไฟจราจร ป้ายไฟรถแท็กซี่ แถบสะท้อนแสงให้เห็นเวลากลางคืน ป้ายไฟบอกสถานะการทำงานของเครื่องจักร ไซเรนรถตำรวจหรือรถพยาบาล ซึ่งการเลือกใช้สีป้ายไฟควรพิจารณาถึงความหมายของสีประกอบด้วย เช่น สีของสัญญาณไฟจราจร
สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย เช่น เครื่องหมายจราจร ทางม้าลาย เครื่องหมายความปลอดภัย เครื่องหมายลูกเสือเครื่องหมายบอกยศของทหาร ตำรวจ เครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ของบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งรอยขีด รอยบากต่าง ๆ
ภาพถ่าย หรือภาพวาด เช่น ภาพถ่ายตัวอย่างนักเรียนที่แต่งกายถูกระเบียบ ภาพถ่ายตัวอย่างอาหารในเมนูอาหาร หรือในกรณีของการรณรงค์เพื่อลดอุบัติเหตุมักใช้ภาพถ่ายความเสียหายหรือการบาดเจ็บจริงเพื่อกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกในการป้องกันอุบัติเหตุจากการเห็นภาพถ่ายจริง
ชิ้นงานตัวอย่างจริง หรือ แบบจำลอง เช่น ตัวอย่างเงื่อนแบบต่าง ๆ ในวิชาลูกเสือ ตัวอย่างเครื่องหมายลูกเสือที่โรงเรียนอนุญาตให้ใช้ แบบจำลองอาคารต่าง ๆ ภายในโรงเรียน หุ่นจำลองแสดงอวัยะต่าง ๆ ในตัวคน โครงกระดูกจำลอง ตัวอย่างเหรียญหรือธนบัตรปลอม
แบบแปลน แผนผัง เช่น ผังแสดงอาณาบริเวณบริเวณโรงเรียน แผนที่ในการเดินทาง ผังโครงสร้างองค์กร ผังแสดงส่วนประกอบของเครื่องจักร
กราฟ แผนภูมิ เช่น กราฟเส้นแสดงยอดขายของร้านค้าในเดือนต่าง ๆ กราฟแท่งแสดงจำนวนนักเรียนระดับชั้นต่าง ๆ กราฟวงกลมแสดงอัตราส่วนระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิง
ตาราง เช่น ตารางแสดงประเภทและจำนวนเหรียญรางวัลที่ได้ในการแข่งกีฬาที่แต่ละสีได้ ตารางบอกคะแนนในสนามแข่งขันบาสเก็ตบอล
ข้อความต่าง ๆ เช่น ป้ายชื่อโรงเรียน ป้ายคำขวัญวันเด็ก ป้ายคำขวัญประจำโรงเรียน พระบรมราโชวาทที่สำคัญ ป้ายชื่อแผนกในโรงพยาบาล ป้ายบอกทางริมถนน ป้ายรณรงค์ส่งเสริมต่าง ๆ
ตัวเลข เช่น หมายเลขรถประจำทาง หมายเลขชานชาลารถไฟ หมายเลขประจำตัวที่เสื้อนักกีฬา นาฬิกาดิจิตอล สกอร์บอร์ดในสนามกีฬา
เครื่องแบบ เช่น เครื่องแบบนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี ตำรวจ ทหาร พยาบาล ธงชาติหรือ ธงประจำหน่วยงานต่าง ๆ

การใช้ Visual Management มีหลัก ดังนี้
1. ควรเลือกใช้ทั้งขนาด รูปร่าง และสีให้เหมาะสม กับวัตถุประสงค์
2. ติดอยู่ในระดับ หรือตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติเห็นได้ชัดเจน
3. สอดคล้องกับสภาพการปฏิบัติงานจริง
4. ไม่ควรมีเยอะจนเกิดความสับสน

วัตถุประสงค์ หลักสูตร Visual Control
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจแนวคิดการจัดการการมองเห็น Visual Managementรวมถึงขั้นตอนและชนิดของ Visual Management สามารถนำไปประยุกต์ใช้ภายในองค์กรได้

กลุ่มเป้าหมาย : หัวหน้างาน และพนักงานทุกระดับ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น

กำหนดการอบรม
บทนำ
– องค์ประกอบในพื้นที่ทำงานและเป้าหมายการทำงาน
– ทำไม การบริหารจัดการด้วยสายตา จึงมีความจำเป็นในการทำงาน
– โค้งการลืม (เส้นโค้งลืม Ebbinghaus)
– ความสามารถการรับข้อมูลข่าวสาร โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5
– ตาเรามองเห็นอะไรบ้าง
Visual Management
– Visual Management คืออะไร
– Visual Management แบ่งออกเป็น 2 ระดับ Visual Display , Visual Control
– เครื่องมือสำหรับการสื่อสารของ Visual Management
– ผลลัพธ์สำคัญในการใช้ Visual Management
– งานที่ต้องประยุกต์ใช้ Visual Management
– 5S พื้นฐานของ Visual Management
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Visual Display, Visual Control
– งานทั่วไป
– งานที่ต้องมีการตัดสินใจ
– งานที่มีอันตราย
– ตำแหน่งของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์
– งานที่ต้องควบคุม
ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ Visual Management
– ขั้นตอนการประยุกต์ใช้
– Workshop (สำรวจหน้างานและการออกแบบ Visual Display, Visual Control พร้อมนำเสนอ)
– Q&A

รูปแบบการดำเนินกิจกรรม
– ทฤษฎี 40 Workshop 60

Total Page Visits: 4949 - Today Page Visits: 1