หลักสูตร ISO 14001 : 2015 Requirements ข้อกำหนด ระบบจัดการสิ่งแวดล้อม 1วัน

หลักสูตร ISO 14001 :2015 Requirement , ข้อกำหนด iso 14001:2015 , อบรม ISO 14001 Internal Audit , อบรม iso 14001 version :2015 ฟรี , อบรม ISO 14001 ฟรี , อบรม ISO 14001 ฟรี 2564 , ISO 14001:2015 Requirement and Interpretation , อบรม iso 14001 ที่ไหนดี , อบรม ISO 14001 ออนไลน์

บทนำ อบรม ISO 14001 ออนไลน์
สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
มีอิทธิพลเกี่ยวโยงถึงกัน เป็นปัจจัยในการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผลกระทบจากปัจจัยหนึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างหรือทำลายอีกส่วนหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ สิ่งแวดล้อมเป็นวงจรและวัฏจักรที่เกี่ยวข้องกันไปทั้งระบบ

สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็นลักษณะกว้าง ๆ ได้ 2 ส่วนคือ
• สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อากาศ น้ำ พื้นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ พืช สัตว์ มนุษย์ และความสัมพันธ์
• สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้างโบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) เปิดเผยว่า เดือนมีนาคม 2015 ทำลายสถิติกลายเป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุด นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกสถิติในปี 1880 และในเวลาเดียวกัน ไตรมาสที่ 1 ปี 2015 (ม.ค.-มี.ค.) เป็นไตรมาสที่ 1 ที่ร้อนที่สุดในรอบ 136 ปีที่ผ่านมา ทำให้มีแนวโน้มว่าปี 2015 จะทำลายสถิติของปี 2014 กลายเป็นปีที่ร้อนที่สุด
ซึ่งการใช้พลังงานก่อนให้เกิดปรากฏการณ์หลายๆประการที่เป็นสาเหตุให้โลกร้อนเช่น
– ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) เกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซโอโซน ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนและอื่น ๆ ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ เป็นลักษณะคล้ายกับเรือนกระจกที่ปิดล้อมรอบโลกเรา ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
– รูรั่วโอโซน โอโซนในชั้นบรรยากาศ ทำหน้าที่สำคัญคือกันรังสีอุลตร้าไวโอเลต (UV) จากดวงอาทิตย์ที่ผ่านมายังโลกให้เหลือในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกเกิดจากการใช้สาร คลอรีน-ฟลูโอรีน-คาร์บอน (CFC) ในตู้เย็น,เครื่องปรับอากาศและ กระป๋องสเปรย์
– ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El-nino) และ ลานีญา (La Nina)
ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อตนเองและสังคม
ในปัจจุบันเราสามารถจำแนก ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่สังคมมนุษย์กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ 3 ปัญหาใหญ่ ๆ คือ
1. ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ประหยัด
2. ปัญหามลภาวะหรือมลพิษทางสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปลดปล่อย/ทิ้งสิ่งที่เป็นพิษ
3. ปัญหาการทำลายระบบนิเวศ เนื่องจากเกิดการเสียสมดุล
สาเหตุจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
สาเหตุจากการปล่อยมลพิษต่างๆ
มาตรฐาน ISO 14001 2015 ฉบับนี้ได้ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้องค์กรใช้ในการยกระดับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มาตรฐานฉบับนี้มีเจตนาให้องค์กรนำไปใช้ในการแสวงหาวิธีการจัดการความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมของตนอย่างเป็นระบบ และก่อให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานฉบับนี้ช่วยองค์กรบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งสร้างคุณค่ากับสิ่งแวดล้อม องค์กร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมขององค์กร ผลลัพธ์ที่ต้องการจากระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมรวมถึง:
– การยกระดับผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
– เติมเต็มการปฏิบัติตามพันธกิจ
– บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมาตรฐานฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 มีการประกาศเมื่อวันที่ 15-09-2015 ที่ผ่านมา มาตรฐานฉบับนี้ได้มีการนำเอาแนวคิดบนพื้นฐานความเสี่ยง และโครงสร้างแบบ High Level structure มาเป็นกรอบในการออกแบบระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

รูปที่ 1 – ความสัมพันธ์ระหว่าง PDCA และกรอบการทำงานในมาตรฐานฉบับนี้

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบรายละเอียดข้อกำหนดของ ISO14001 : 2015 และการประยุกต์ใช้

กลุ่มเป้าหมาย : ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม    1 วัน ตั้งแต่ 09.00-16.00
หัวข้อการอบรม
1 ขอบเขต
2 การอ้างอิง
3 คำจำกัดความ
3.1 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรและภาวะผู้นำ
3.2 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน
3.3 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสรอมและการดำเนินการ
3.4 คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินและการปรับปรุงผลการดำเนินงาน
4 บริบทขององค์กร
4.1 ความเข้าใจในองค์กรและบริบทขององค์กร
4.2 ความเข้าใจในความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.3 การกำหนดขอบเขตของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
4.4 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
5 ภาวะผู้นำ
5.1 ภาวะผู้นำและความมุ่งมั่น
5.2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ขององค์กร
6 การวางแผน
6.1 การดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงและโอกาส
6.1.1 บททั่วไป
6.1.2 ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
6.1.3 พันธกิจที่ต้องปฏิบัติตาม
6.1.4 การดำเนินการวางแผน
6.2 วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
6.2.1 วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
6.2.2 การดำเนินการวางแผนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
7 การสนับสนุน
7.1 ทรัพยากร
7.2 ทักษะความสามารถ
7.3 ความตระหนัก
7.4 การสื่อสาร
7.4.1 บททั่วไป
7.4.2 การสื่อสารภายใน
7.4.3 การสื่อสารภายนอก
7.5 เอกสารสารสนเทศ
7.5.1 บททั่วไป
7.5.2 การสร้างและการอัพเดตข้อมูล
7.5.3 การควบคุมสารสนเทศที่เป็นลายลักษณ์อักษร
8 การดำเนินงาน
8.1 การวางแผนและการควบคุมการดำเนินงาน
8.2 การเตรียมความพร้อมและการตอบสนองในกรณีฉุกเฉิน
9 การประเมินผลการดำเนินงาน
9.1 การติดตาม การวัดผล การวิเคราะห์ และการประเมินผล
9.1.1 บททั่วไป
9.1.2 ประเมินผลความสอดคล้อง
9.2 การตรวจประเมินภายใน
9.2.1 บททั่วไป
9.2.2 โครงการการตรวจประเมินภายใน
9.3 การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
10 การปรับปรุง
10.1 บททั่วไป
10.2 ความไม่สอดคล้องและการดำเนินการแก้ไข
10.3 การปรับปรุงเป็นประจำ

รูปแบบการอบรม
– บรรยายทำความเข้าใจข้อกำหนดและกิจกรรมกลุ่ม เพื่อทำความเข้าใจการประยุกต์ใช้

Total Page Visits: 940 - Today Page Visits: 1