|
การควบคุมสารต้องห้าม (RoHS v.2.1 Halogen Free And REACH)
สถาบันฝึกอบรม การควบคุมสารต้องห้าม
(RoHS v.2.1 Halogen Free And REACH)

การควบคุมสารต้องห้าม
(RoHS v.2.1 Halogen Free And REACH)
สภาพปัญหาที่พบ
RoHS เป็นระเบียบการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป เพื่อต้องการให้สินค้าปราศจากสารอันตราย อันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับประเทศผู้ใช้สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ตะกั่ว, ปรอท, โครเมียม+6, โพลิโบรมิเนทไบฟินิล (PBB), โพลิโบรมิเนทไดฟินิลอีเทอร์(PBDE) และ แคดเมียม
ปัจจุบัน RoHS v2 เริ่มบังคับใช้ 3/1/13 คุมตั้งแต่นำเข้าตลาด นำเข้าชิ้นส่วนเพื่อนำไปผลิตต่อเพื่อการส่งออก (ไม่วางตลาด) จะถูกควบคุมด้วย และมีการปรับสารต้องห้ามเพิ่มอีก 4 สารซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2019 เป็น RoHS v2.1
ข้อกำหนดของ RoHS ในวัสดุเนื้อเดียวกันที่ใช้ในการผลิตสินค้าต้องควบคุมการใช้สารอันตรายให้มีปริมาณไม่เกินค่าที่กำหนด ดังต่อไปนี้
- ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- โครเมียม6 (Cr+6 ) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- โพลิโบรมิเนทไบฟินิล (PBB) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- โพลิโบรมิเนทไดฟินิลอีเทอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% (100 ppm)
- Di(2-ethylhexyl)phthalate (DEHP) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- Benzylbutylphthalate (BBP) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- Dibutylphthalate (DBP) ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
- Diisobutyl Phthalate (DIBP)ไม่เกิน 0.1% (1000 ppm)
Halogen Free หรือ “สินค้าไร้ฮาโลเจน” เป็นอีกหนึ่งคำที่อยู่ในความสนใจของทุกฝ่าย ทั้งผู้ผลิต นักสิ่งแวดล้อม NGOs และผู้ออกกฎหมาย คำๆ นี้สามารถสร้างความสับสนได้มาก เพราะทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างเข้าใจไปเองว่าการปลอดสารฮาโลเจน หรือสินค้าไร้ฮาโลเจน ถือเป็น “สินค้าสีเขียว” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ในความเป็นจริง การผลิตหรือการใช้สินค้าไร้ฮาโลเจนบางชนิด อาจไม่ส่งผลดีต่อมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม
ฮาโลเจน (Halogen) เป็นชื่อเรียก ธาตุในหมู่ที่ 7 ในตารางธาตุ หรือธาตุกลุ่มฮาโลเจน ธาตุในกลุ่มนี้ มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดคือ ฟลูออรีน (F) คลอรีน (Cl) โบรมีน (Br) ไอโอดีน (I) และ แอสตาติน (At) ธาตุทั้ง 5 ชนิดเป็นธาตุที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่เนื่องจากธาตุกลุ่มนี้เป็นธาตุที่ไวต่อปฏิกิริยาเคมีเอามากๆ จึงไม่ค่อยพบในรูปธาตุบริสุทธิ์ แต่จะพบมากในรูปเกลือโลหะหรือสารประกอบที่เรียกกันว่า “ฮาไลด์”
สารประกอบฮาโลเจน กลุ่มที่สร้างปัญหาหรือก่อให้เกิดความกังวล ว่าจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม มักไม่ใช่ สารประกอบฮาโลเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสารประกอบฮาโลเจน ที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปสารประกอบอินทรีย์ (Organo Halogen Compounds - หรือกลุ่มโพลิเมอร์ที่มีฮาโลเจนเป็นส่วนประกอบ) ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “ฮาโลคาร์บอน” ตัวอย่างฮาโลคาร์บอน ที่เป็นอันตรายและมีกฎหมายห้ามใช้แล้ว เช่น PCB (Polychlorinated Biphenyl), PBB (Polybrominated Biphenyl), PBDE (Polybrominated Diphenyl Ethers), DDT (dichloro-diphenyl-trichloroethane) และสารประกอบ คลอรีนและโบรมีน บางชนิดที่จัดอยู่ในกลุ่มสารทำลายชั้นโอโซน เช่นสารในกลุ่ม CFC (Chlorofluorocarbon) ที่ใช้มากในวงจรทำความเย็น และใช้ทำน้ำยาล้างทำความสะอาดชิ้นส่วน เป็นต้น
REACH หรือกฎระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2007 ว่าด้วยเรื่องการจดทะเบียน การประเมิน การอนุญาต และการห้ามหรือจำกัดการผลิตหรือการใช้สารเคมี
R: Registration การจดทะเบียน
E: Evaluation การประเมินความเสี่ยง
A: Authorization การขออนุญาตใช้สารบางชนิด / ห้ามใช้สารบางชนิด
CH: Chemical สารเคมี
เนื้อความในกฎหมายแบ่งเป็น 15 บรรพ (Title) 141 มาตรา (Article) 17 ภาค (Annex) เพื่อใช้เป็นมาตรการในการควบคุมเคมีภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายในสหภาพยุโรป โดยมีแนวคิดหลักคือ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมและ ขึ้นทะเบียนสารเคมีตามระเบียบการของ RoHS v.2.1 , Halogen Free and REACH
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าวอย่างถูกต้อง
กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ที่สนใจ
จำนวนผู้เข้าอบรม : 30 คน/รุ่น
กำหนดการอบรม
09.00-12.00 น. หลักการและเหตุผล
- ระเบียบปฏิบัติ EuP (Energy using Product)
- เหตุผลของที่องค์กรต้องปฏิบัติตาม EU
Restriction of Hazardous Substances
- ระเบียบ RoHS คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
- RoHS v2.1 เพิ่มสารต้องห้ามอะไร และบังคับใช้เมื่อไร
- คุณสมบัติของสารต้องห้าม 6+4 ชนิด และอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- การจัดทำเอกสาร Technical ตามระบบ RoHS
- ข้อควรคำนึงในการเลือกใช้สารทดแทน
- การตรวจสอบปริมาณสารต้องห้าม
- ห้องปฎิบัติการทดสอบ
- วิธีการอ่านค่าผลการตรวจสอบ Test REPORT
- Workshop การอ่านผล “Test Report”
- แนวทางการควบคุมสารต้องห้ามในองค์กร
Halogen Free
- ฮาโลเจน คืออะไร?
- พิษภัยของของฮาโลเจน
- ตัวอย่างพิษภัยของฮาโลคาร์บอนบางชนิด
- มาตรฐาน “สินค้าไร้ฮาโลเจน”
12.00-13.00 น. - พัก
13.00-16.30 น. - ฮาโลเจนกับฉลากเขียว (Ecolabels)
Registration Evaluation and Authorization of Chemicals
- REACH คืออะไร?
- วัตถุประสงค์ของ REACHและสาระสำคัญของ REACH
- สารเคมีที่ได้รับการยกเว้นตามกฏระเบียบ REACH
- ระยะเวลาการจดทะเบียน REACH
- Evaluation, Authorization, Restriction
- Q&A
รูปแบบการอบรม
- บรรยาย 80% Workshop 20%
ติดต่อสอบถามข้อมูลการอบรม
บริษัท บิ๊กคิว เทรนนิ่ง จำกัด
BIG Q TRAINING CO., LTD.
16/2 หมู่ 6 ต.มาบแค อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
16/2 Moo 6, Marb-kae, Muang Nakornpathom, Nakornpathom 73000
Tel: 089-9993466 , 095-4469644 อุดมศักดิ์
Tel: 090-4649464 , 0954469446 กฤตติกา
Fax : 034973518
เว็บไซต์ : www.bigq.co.th
Email : info@bigq.co.th

สถาบันฝึกอบรม การควบคุมสารต้องห้าม (RoHS v.2.1 Halogen Free And REACH)
|
|